วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ: การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหม่ของอิสราเอล


“พวกเจ้าจะไม่ต่อสู้กระนั้นหรือ ซึ่งกลุ่มชนที่ทำลายคำมั่นสัญญาของพวกเขา และมุ่งขับไล่รอซูลให้ออกไป ทั้งๆ ที่พวกเขาได้เริ่มปฏิบัติแก่พวกเจ้าก่อนเป็นครั้งแรก พวกเจ้ากลัวพวกเขากระนั้นหรือ? อัลลอฮ์ต่างหากเล่า คือผู้ที่สมควรแก่การที่พวกเจ้าจะกลัว หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา” (9:13)

จากเหตุการณ์การก่อร้ายของอิสราเอล ที่เริ่มบุกถล่มปาเลสไตน์ตั้งแต่เมื่อวันเสาร์ที่ 27 ธ.ค. 2551 ได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนชาวปาเลสไตน์ มากกว่า 300 คน และบาดเจ็บนับสองพันคน (ข้อมูลวันที่ 29 ธ.ค. 51) นับเป็นอาชญากรรมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลกที่อิสราเอลกระทำต่อชาวปาเลสไตน์ ภายหลังสงคราม ยิว-อาหรับ ตั้งแต่ปี 1967
การกล่าวอ้างของอิสราเอลต่อประชามคมโลก ที่ว่า ฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย ทำให้คนหลายคน รู้สึกว่าการโจมตีของอิสราเอลมีความชอบธรรม เมื่อได้รับฟังข่าวที่มาจากฝ่ายอิสราเอล และได้รับการขยายจากสื่อตะวันตกทั้งหลายจนดูเหมือนว่าเป็นเรื่องจริง
เราต้องรับทราบข้อเท็จจริงว่า ทุกวันนี้ ไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนต่อคำว่า “ก่อการร้าย” ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ดังนั้น ตราฉลากของคำว่า “ก่อการร้าย” จึงง่ายที่จะถูกใช้เป็นประโยชน์ทางการเมือง
มีคำกล่าวหนึ่ง ที่ว่า “ผู้ก่อการร้ายสำหรับคนๆหนึ่ง ก็คือ นักสู้เพื่ออิสรภาพของอีกคน” คำกล่าวนี้ได้บ่งบอกถึงสถานการณ์ตอนนี้ได้อย่างชัดเจน ขณะที่ชาวปาเลสไตน์จำนวน 62 % มีความนิยมในกลุ่มฮามาส จนฮามาสได้รับเลือกเข้าสู่สภาในปี 2006 แต่มันได้ถูกตีตราว่าเป็นองค์กรก่อการร้าย โดย ประเทศต่างๆ เช่น แคนาดา อิสราเอล ญี่ปุ่น และอเมริกา
ในการสัมภาษณ์กับ Der Spiegel, คอลิด เมอชอล หัวหน้าฝ่ายการเมืองของฮามาสยืนยันว่า “เราเป็นกลุ่มต่อต้านแห่งชาติ ไม่ใช่กลุ่มก่อการร้าย เรามีสิทธิที่จะต่อต้านการยึดครอง”
นอกจากนี้ มะฮฺมูด อัลซาฮีร ผู้นำฮามาสคนหนึ่ง เขียนลงในวอชิงตันโพสท์ ว่า การต่อสู้ของเราจะดำเนินต่อไป เพราะว่าเราไม่อาจยินยอมให้อาชญากรรมอันร้ายแรงนี้ (ความรุนแรงที่ปะทุขึ้นในดินแดนและหมู่บ้านของเรา) มาทำให้เรากลายเป็นผู้ลี้ภัย และเบนความสนใจของโลก และทำให้ผู้คนลืมเรา

ข้ออ้างของอิสราเอล
จากคำกล่าวอ้างของอิสราเอลในการสร้างความชอบธรรมในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในครั้งนี้ ว่าฮามาสนั้นเป็นคนโจมตีก่อนโดยยิงจรวดและปืนครกเข้าใส่อิสราเอล เป็นเหตุให้อิสราเอลต้องลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องประชาชนของตนเอง
คำกล่าวอ้างนี้มีที่มาจากการทำข้อตกลงหยุดยิงของทั้งสองฝ่าย ปาเลสไตน์และอิสราเอล เมื่อเดือนมิถุนายน ซึ่งตามข้อตกลงหยุดยิงนั้นกินเวลา 6 เดือน โดยมีเงื่อนไขว่า ฮามาสต้องหยุดยิงจรวดและอาวุธทุกชนิดเข้าไปที่อิสราเอล และอิสราเอลต้องยุติการปฏิบัติการทางทหาร รวมถึงการปิดล้อมซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของดินแดนกาซ่า
บทความของ คริส เฮจย์ ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ได้บอกให้เราทราบว่า อิสราเอลต่างหากที่เป็นคนละเมิดข้อตกลงหยุดยิง โดยฮามาสเป็นฝ่ายที่เสนอให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงระยะยาว และปฏิบัติตามข้อตกลงแต่อิสราเอลปฏิเสธที่จะเปิดดินแดนเพื่อให้มีการขนถ่ายอาหาร ข้าวของต่างๆเข้าไปในปาเลสไตน์ รวมทั้งได้เริ่มโจมตีก่อน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน โดยได้สังหารชาวปาเลสไตน์ไปจำนวน 6 คน และหลังจากนั้น ฮามาสจึงเริ่มกลับมาตอบโต้และระดมยิงจรวดเข้าใส่อิสราเอล ซึ่งไม่มีการรายงานความเสียหายของอิสราเอลแต่อย่างใดแต่เพราะเหตุใดข่าวที่อิสราเอลซึ่งเป็นผู้รุกรานก่อนไม่ได้ถูกนำเสนอให้ชาวโลกได้รับทราบ

ความยากลำบากของพี่น้องปาเลสไตน์ และ การช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม
ภาพของการปิดล้อมกาซ่าของอิสราเอล ซึ่งไม่เป็นที่รับรู้ของชาวโลกมากนัก (อันเนื่องมาจากการที่อิสราเอลไม่อนุญาตให้ทีมช่วยเหลือทางมนุษยธรรม นักข่าว ช่างภาพเข้าไปบันทึกภาพและทำข่าว) ถูกเปรียบเหมือนอาชญากรรมอันเลวร้ายในการเหยียดผิวของแอฟริกาใต้ และมันมีความใกล้เคียงกับสงครามซาราเจโว ที่กระทำโดยชาวเซิร์บ
ยิ่งกว่านี้ ประชาชนชาวปาเลสไตน์มากกว่า 1.1 ล้านคน หรือ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางด้านอาหารและปัจจัยยังชีพ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นจาก ปี2006 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราว่างงานที่สูงขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 1 แสน 1 หมื่นคนที่ทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนต้องตกงาน
สภาพการศึกษาของชาวปาเลสไตน์ถูกรายงานว่าไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้ ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุอันเนื่องมาจากการปิดเส้นทางของอิสราเอลทำให้การเดินทางของนักเรียนเป็นไปด้วยความยากลำบาก รวมทั้งการขนส่งน้ำมันไม่สามารถส่งผ่านได้ ทำให้นักเรียนไปโรงเรียนไม่ได้ และส่งผลกระทบในวงกว้างรวมถึง รถพยาบาลซึ่งใช้ได้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นก็ต้องจอดไว้กับที่เพราะขาดแคลนน้ำมัน

ความต้องการที่แท้จริงของอิสราเอล
การที่อิสราเอลเข้าไปโจมตีปาเลสไตน์ในครั้งนี้ไม่เพียงข้ออ้างที่ใช้ตอบโต้ฮามาส แต่มันรวมถึงการจงใจละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งถ้ามันได้รับการเคารพจากทั้งสองฝ่าย อิสราเอลมองว่าคนที่เสียประโยชน์ก็คือ อิสราเอลเอง เพราะ 1. ฮามาสมีเวลาที่จะเสริมความเข้มแข็งให้กับตัวเองซึ่งเป็นผลเสียต่ออิสราเอลในอนาคต 2. จะมีสัญญาณในทางที่ดีให้ปาเลสไตน์เรียกร้องให้จัดตั้งประเทศปาเลสไตน์ อย่างชอบธรรม
เพราะฉะนั้นอิสราเอลต้องเข้าไปยึดครองดินแดนกาซ่ากลับคืน ซึ่งแสดงถึงความไม่ยี่หระต่อข้อตกลงหยุดยิง ซ้ำยังใส่ร้ายฮามาสว่าเป็นผู้โจมตีก่อน

การต่อสู้ของฮามาส
ทันทีที่ถูกโจมตี นายคอลิด เมอชอล หัวหน้ากลุ่มต่อต้านของฮามาส เรียกร้องให้ประชาชนชาวปาเลสไตน์ลุกขึ้นมาสู่ การปฏิบัติการ อินติฟาเฎาะ และสาบานว่าจะแก้แค้นอิสราเอลอย่างหนักถึงภายในเมืองอิสราเอลเอง
เจ้าหน้าที่ฮามาสได้กล่าวต่อ สำนักข่าวเยรูซาเล็ม ต่อการไม่อพยพผู้คนออกจากเมืองล่วงหน้าก่อนการโจมตี ว่า อียิปต์ได้รับรองว่าจะไม่มีการโจมตีของอิสราเอลในวันสองวันนี้ แต่เอาเข้าจริงอียิปต์กลับส่งสัญญาณเปิดไฟเขียวให้กับอิสราเอลเข้ามาถล่มกาซ่าในที่สุด ซึ่งเป็นความพยายามจะกำจัดอำนาจของฮามาสให้หมดไปจากดินแดนกาซ่า และหลังจากนั้นฟัตหฺก็จะเข้ามาครอบครองดินแดนแทน



ทั่วโลกต่างรุมประณามอิสราเอล มุสลิมไทยทำอะไรได้บ้าง?
1.ช่วยขอดุอาอฺให้ พี่น้องมุสลิมมีความเข้มแข็งและมีความมั่นคงในการญีฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ ซูบฮานะฮะตะอาลา และขออัลลอฮฺให้อิสราเอลได้รับการลงโทษที่สาสม และทหารของพวกเขามีจิตใจที่อ่อนแอจนต้องพ่ายแพ้ต่อฮามาสในที่สุด
2. ช่วยติดตามเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องรวมถึงชี้แจงให้กับมุสลิมและคนไม่ใช่มุสลิมรับทราบข้อมูล
3. ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านอิสราเอลในทุกที่
4. อื่นๆ ตามกำลังความสามารถ
“และถ้าหากพวกเขาทำลายคำมั่นสัญญาของพวกเขา หลังจากที่พวกเขาได้ทำสัญญาไว้และใส่ร้ายในศาสนาของพวกเจ้าแล้วไซร้ ก็จงต่อสู้บรรดาผู้นำแห่งการปฏิเสธศรัทธาเถิด แท้จริงพวกเขานั้นหาได้มีคำมั่นสัญญาใดๆ แก่พวกเขาไม่ เพื่อว่าพวกเขาจะหยุดยั้ง” [9:12]
อบู มุศลิหฺ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น